1. ไมโอซิส I (meiosis I) - เมื่อสิ้นระยะนี้จำนวนโครโมโซมจะลดลงครึ่งหนึ่ง
2. ไมโอซิส II (meiosis II) - ลักษณะของขั้นตอนและกระบวนการคล้ายกับในไมโทซิส
เซลล์ลูกที่เกิดขึ้นจากการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสจะได้ 4 เซลล์ และมีจำนวนโครโมโซมลดลงครึ่งหนึ่ง
รูปการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส (meiosis)
ตารางสรุปการแบ่งนิวเคลียสแบบไมโอซิส
ระยะ
|
เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น
|
Interphase I
|
ระยะที่เซลล์มีการเตรียมความพร้อมก่อนการแบ่งเซลล์
- โครโมโซมคลายตัวอยู่ในรูปของเส้นใยโครมาติน
- การเพิ่มจำนวนของ DNA (จำนวนโครมาติด)
|
Prophase I
|
- เยื่อหุัมนิวเคลียส นิวคลีโอลัส เริ่มสลายตัว
- โครโมโซมคู่เหมือน (homologus chromosome) จะเกิดการเข้าคู่กัน
(synapsis) และเกิดการแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนของ non-sister
chromatid
ผ่านการ crossing over ขึ้นบริเวณ chiasmata
โครโมโซมที่อยู่คู่นี้เรียกว่า tetrad / bivalent
|
Metaphase I
|
-
Tetrad จะมาเรียงในแนว equatorial plate
|
Anaphase I
|
- แต่ละ homologus chromosome จะถูกดึงแยกออกจากกันไปยังแต่ละขั้วเซลล์
|
Telophase I
|
- จำนวนโครโมโซมในเซลล์ลูกแต่ละเซลล์ลดลงเหลือครึ่งหนึ่ง
- เริ่มมีการแบ่งไซโตพลาสซึมเกิดขึ้น
- อาจจะมีการสร้างเยื่อหุ้มนิวเคลียสขึ้นล้อมรอบหรือไม่ก็ได้
|
Prophase II
|
- โครโมโซมมีการขดตัว เยื่อหุ้มนิวเคลียสและนิวคลีโอลัสสลาย
|
Metaphase II
|
- โครโมโซมมาเรียงตัวแถวเดียวในแนว equatorial plate
|
Anaphase II
|
-
Sister chromatid ของแต่ละโครโมโซมเกิดการแยกจากกัน
|
Telophase II
|
- เริ่มมีการสร้างเยื่อหุ้มนิวเคลียสและนิวคลีโอลัสใหม่อีกครั้ง
- เริ่มมีการแบ่งไซโตพลาสซึม หลังเสร็จจะได้เซลล์ทั้งหมด 4 เซลล์
โดยแต่ละเซลล์จะมีจำนวนโครโมโซมลดลงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับเซลล์แม่
|
อ้างอิง :
หนังสือESSENTIAL
BIOLOGY
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น