ผู้ติดตาม

วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2562

บทนำเกี่ยวกับการแบ่งเซลล์

    การแบ่งเซลล์  =  การเพิ่มจำนวนเซลล์ในสิ่งมีชีวิต มีบทบาท 3 อย่างหลัก คือ
      1.  การสืบพันธ์  -  ในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เช่น การแบ่งตัวออกเป็นสอง (binary fission)ของแบคทีเรีย
      2.  การเติบโต   -  ในสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ เช่น การแบ่งเซลล์เพื่อเพิ่มจำนวนในเอ็มบริโอ
      3.  การซ่อมแซม  -  ในกรณีที่บางส่วนของอวัยวะถูกทำลาย เช่น การแบ่งเซลล์เพิ่มจำนวนทดแทนในเซลล์พืช      
    กลไกการแบ่งเซลล์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ขั้นตอน คือ
      1.  การแบ่งนิวเคลียส (karyokinesis) มี 2 แบบ คือ
        1.1  การแบ่งนิวเคลียสแบบไมโทซิส (Mitosis)  -  พบในเซลล์ร่างกาย จำนวนโครโมโซมของเซลล์ลูกเท่าเดิม
        1.2  การแบ่งนิวเคลียสแบบไมโอซิส (Meiosis)  -  พบในเซลล์สร้างสืบพันธุ์ของสัตว์ และเซลล์สร้าง  

สปอร์ของพืช (spore mother  cell)จำนวนโครโมโซมของเซลล์ลูกลดลงครึ่งหนึ่ง
      2.  การแบ่งไซโตพลาสซึม (cytokinesis) มี 2 แบบ แบ่งตามชนิดของเซลล์ คือ  
        2.1 เซลล์พืช  -  จะมีการสร้างเซลล์เพลต (cell plate) ขึ้นบริเวณกลางเซลล์แล้วขยายไปยังสองข้างของเซลล์ ซึ่งกลายเป็นผนังเซลล์
        2.2  เซลล์สัตว์  -  จะอาศัยการคอดเว้าเข้าหากันของเยื่อหุ้มเซลล์ ทำให้เซลล์หลุดออกจากกัน

                                           รูปการแบ่งไซโตพลาสซึมในเซลล์สัตว์และเซลล์พืช





    การแบ่งนิวเคลียส (karyokinesis) ประกอบด้วย 2 ระยะ คือ
          1.1  ระยะอินเตอร์เฟส (Interphase)  -  ระยะที่เซลล์เตรียมความพร้อมก่อนการแบ่งเซลล์
          1.2  ระยะ M ( M phase)  -  ระยะที่เซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลงและเกิดการแบ่งนิวเคลียสขึ้น
แบ่งเป็น 4 ระยะย่อย คือ  
                 -  โพรเฟส (Prophase)
                 -  เมทาเฟส (Metaphase)
                 -  แอนาเฟส (Anaphase)
                 -  เทโลเฟส (Telophase)






อ้างอิง : หนังสือ ESSNTIAL BIOLOGY 
           : หนังสือ SMART BIOLOGY                                        

การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส (MITOSIS)

   การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส (MITOSIS)  -  แบ่งเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ในร่างกาย

                                                  
รูปการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส (mitosis)





  ตารางสรุประยะการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส                                                                                                                                                 
ระยะ
เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น
 Interphase




ระยะที่มีการเตรียมความพร้อมก่อนการแบ่งเซลล์      
-  โครโมโซมคลายตัวอยู่ในรูของเส้นใยโครมาติน
-  การเพิ่มจำนวนของดีเอ็นเอ DNA (จำนวนโครมาติด) 
-  การสังเคราะห์เอนไซม์ไมโตคอนเดรีย และเซนตริโอล


 Prophase






-  เส้นใยโครมาตินเริ่มเกิดการขดตัว (condensation)
-  เยื่อหุ้มนิวเคลียส นิวคลีโอลัส เริ่มเกิดการสลายตัว
-  Centrosome เริ่มแยกออกจากกัน
-  เริ่มมีการสร้าง spindie fiber และเริ่มเห็น aster ในเซลล์สัตว์ 
( aster คือกลุ่มของเส้นใยสปินเดิลที่อยู่เป็นรัศมีรอบเซนตริโอล)



Prometaphase
-  เยื่อหุ้มนิวเคลียสสลายตัวเป็น vesicle จนสมบูรณ์
-  เส้นใย spindie fiber มาจับกับ kinetochore  ของโครโมโซม



Metaphase
-  โครโมโซมมีการหดตัวมากที่สุด เหมาะกับการทำ karyotype
(  karyotype คือ การแยกโครโมโซมแล้วนำมาจับคู่ โดยทั่วไปจะนิยมนำมาใช้ในการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของโครโมโซมได้)
-   โครโมโซมมาเรียงอยู่ในแนวกึ่งกลาง (metaphase  plate)
หรือ (equatorail  plate)



 Anaphase
-  Sister chromatid ของโครโมโซมเริ่มแยกออกจากกันไปยังแต่ละขั้วของเซลล์ ที่ต่อไปจะพัฒนาไปเป็นเซลล์ลูก



 Anaphase
-  โครโมโซมเกิดการคลายตัว (decondensation)
-  เยื่อหุ้มนิวเคลียสและนิวคลีโอลัสเริ่มเกิดการสร้างใหม่
-  เริ่มมีการแบ่งไซโตพลาสซึมเกิดขึ้น






















































 อ้างอิง : หนังสือESSENTIAL BIOLOGY

การแบ่งนิวเคลียสแบบไมโอซิส (MEIOSIS)

    การแบ่งนิวเคลียสแบบไมโอซิส (meiosis)  -   เป็นการแบ่งเซลล์เพื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของสัตว์ที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ
      1. ไมโอซิส I (meiosis I)  -  เมื่อสิ้นระยะนี้จำนวนโครโมโซมจะลดลงครึ่งหนึ่ง
      2.  ไมโอซิส II (meiosis II)  -  ลักษณะของขั้นตอนและกระบวนการคล้ายกับในไมโทซิส
    เซลล์ลูกที่เกิดขึ้นจากการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสจะได้ 4 เซลล์ และมีจำนวนโครโมโซมลดลงครึ่งหนึ่ง

                                                           รูปการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส (meiosis)



                                     ภาพ : https://www.dek-d.com/board/view/3374619/
                                                             
ตารางสรุปการแบ่งนิวเคลียสแบบไมโอซิส

ระยะ
เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น
Interphase I

ระยะที่เซลล์มีการเตรียมความพร้อมก่อนการแบ่งเซลล์
โครโมโซมคลายตัวอยู่ในรูปของเส้นใยโครมาติน
การเพิ่มจำนวนของ DNA (จำนวนโครมาติด)



Prophase I

เยื่อหุัมนิวเคลียส นิวคลีโอลัส เริ่มสลายตัว
โครโมโซมคู่เหมือน (homologus chromosome) จะเกิดการเข้าคู่กัน (synapsis) และเกิดการแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนของ non-sister
chromatid  ผ่านการ crossing over  ขึ้นบริเวณ chiasmata โครโมโซมที่อยู่คู่นี้เรียกว่า tetrad / bivalent



Metaphase I
-  Tetrad จะมาเรียงในแนว equatorial plate



Anaphase I

แต่ละ homologus chromosome จะถูกดึงแยกออกจากกันไปยังแต่ละขั้วเซลล์



Telophase I

จำนวนโครโมโซมในเซลล์ลูกแต่ละเซลล์ลดลงเหลือครึ่งหนึ่ง
เริ่มมีการแบ่งไซโตพลาสซึมเกิดขึ้น
อาจจะมีการสร้างเยื่อหุ้มนิวเคลียสขึ้นล้อมรอบหรือไม่ก็ได้



Prophase II

โครโมโซมมีการขดตัว เยื่อหุ้มนิวเคลียสและนิวคลีโอลัสสลาย


Metaphase II

โครโมโซมมาเรียงตัวแถวเดียวในแนว equatorial plate


Anaphase II

-  Sister chromatid  ของแต่ละโครโมโซมเกิดการแยกจากกัน


Telophase II

เริ่มมีการสร้างเยื่อหุ้มนิวเคลียสและนิวคลีโอลัสใหม่อีกครั้ง
เริ่มมีการแบ่งไซโตพลาสซึม หลังเสร็จจะได้เซลล์ทั้งหมด 4 เซลล์ โดยแต่ละเซลล์จะมีจำนวนโครโมโซมลดลงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับเซลล์แม่




อ้างอิง : หนังสือESSENTIAL BIOLOGY